การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1

 

ไปหน้าที่ | 1 | 2 | 3 |



ทฤษฎีบทของเทวินินและนอร์ตัน (Thevenin & Norton's Theorems)
วงจรเชิงเส้นใดๆจะสามารถทำการเปลี่ยนเป็นวงจรสมมูลที่ง่ายต่อการวิเคราะห์วงจรมากขึ้น โดยประกอบด้วยแหล่งจ่ายแรงดันอนุกรมกับตัวต้านทาน ที่เรียกว่าวงจรสมมูลของเทวินิน (Thevenin's equivalent circuit) ดังรูปที่ 4.9(a) หรือวงจรที่ประกอบด้วยแหล่งจ่ายกระแสขนานกับตัวต้านทาน ที่เรียกว่าวงจรสมมูลของนอร์ตัน (Norton's equivalent circuit) ดังรูปที่ 4.9(b)

รูปที่ 4.8 วงจรเชิงเส้นใดๆที่จะทำการแปลงเป็นวงจรสมมูล

โดย
  คือแรงดันขณะที่กระแส i   = 0A
  คือกระแสขณะที่แรงดัน v   = 0V
  คือความต้านทานที่มองเข้าไปในในวงจร ขณะที่กำจัดแหล่งจ่ายอิสระทุกตัว
ค่าทั้งสามนี้มีความสัมพันธ์กันคือ


Leon Charles Thevenin
French engineer.(1857–1926)
Edward Lawry Norton
American engineer.(1898-1983)

รูปที่ 4.9 วงจรสมมูลของเทวินินและนอร์ตัน



รูปที่ 4.10 การหาค่าต่างๆในวงจรสมมูล


ตัวอย่างการหาวงจรสมมูลของเทวินินและนอร์ตัน

รูปที่ 4.11 วงจรตัวอย่างการหาวงจรสมมูลของเทวินินและนอร์ตัน


แรงดัน หาได้โดยวัดแรงดันที่ตกคร่อมขั้ว a-b





กระแส หาได้โดยลัดวงจรที่ขั้ว a-b และวัดกระแสที่ไหลผ่านจากขั้ว a ไปยังขั้ว b นี้





ตัวต้านทาน หาได้โดยการกำจัดแหล่งจ่ายอิสระทั้งหมด ในที่นี้มีแหล่งจ่ายแรงดันจึงกำจัดโดยการลัดวงจร และหาความต้านทานรวมที่ได้ที่ขั้ว a-b





ได้วงจรสมมูลของเทวินินและวงจรสมมูลของนอร์ตันของวงจรรูป 4.11 ดังรูปที่ 4.12

รูปที่ 4.11 วงจรสมมูลของเทวินินและวงจรสมมูลของนอร์ตันของวงจรรูป 4.11